มุมดีๆกับหลักประกันสุขภาพ

เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชน
เมื่อวันที่ 26 – 27 เมษายน 2556ได้มีการประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเครือข่ายองค์กรประชาชนขึ้น การสรุปบทเรียนในครั้งนี้จัดขึ้นตามมติคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมและการคุ้มครองสิทธิ ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อต้องการเห็น
บทบาทและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ที่มีการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยคัดเลือกเครือข่ายร่วมในการสรุปบทเรียน ได้แก่ เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนในพื้นที่ เขต 1เชียงใหม่ เขต 5 ราชบุรี เขต 13 กรุงเทพมหานครและเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเครือข่ายผู้ป่วยโรคไตจากเวทีทำให้เห็นภาพการทำงานของเครือข่ายองค์กรประชาชนและศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนในหลายพื้นที่หลายเครือข่ายได้ดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกาย การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และเป็นการดำเนินงานที่ผ่านกลไกการมีส่วนร่วม ไม่ว่าภาคประชาชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งด้านสาธารณสุข
เกษตร การศึกษาพัฒนาชุมชน หรือประชาชนกลุ่มเครือข่ายต่างๆ ด้วยกันเอง แต่ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าภาคประชาชน โดยศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนหรือองค์กรชุมชนในพื้นที่เป็นกลไกหลักในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกระบวนการดำเนินงาน มิใช่เป็นเพียงแค่การทำกิจกรรมจากความอยากทำหรือน่าจะทำ แต่พบว่าเป็นการทำงานที่มีกระบวนการสร้างความรู้ความ
เข้าใจให้ประชาชนได้เข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บทบาทของผู้มีส่วนในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ และประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ ทั้ง รพ.สต. กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต./เทศบาล หรือในบางพื้นที่มีกระบวนการสำรวจข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของประชาชนเฉพาะกลุ่มในพื้นที่ หรือประชาชนทั่วไปในพื้นที่ จนเห็นปัญหาและเกิดการรณรงค์เพื่อการสร้าง
เสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเครือข่ายองค์กรประชาชน เช่น เครือข่ายวารสารก้าวใหม่ของทุกคนและทุกภาคส่วนของสังคม ต่างจากการสร้างเสริมสุขภาพแบบดั้งเดิม ที่มุ่งที่สุขภาพส่วนบุคคล เป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล และเน้นการได้รับบริการจากแพทย์เท่านั้น ในการสร้างเสริมสุขภาพตาม
แนวคิดการสาธารณสุขใหม่แห่งกฎบัตรออตตาวา ได้ให้ความสำคัญต่กระบวนการเสริมพลังให้ประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เอื้อต่อ
สุขภาพ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคมให้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ทั้งนี้เพื่อลดความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพของกลุ่มคนต่างๆ โดยเน้นที่กลยุทธ์ใน
การผลักดันนโยบายสาธารณะและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีการรวมตัวกันดำเนินกิจกรรมสุขภาพด้วยตนเองอย่างเข้มแข็งเปิดโอกาสให้แต่ละบุคคลสามารถเรียนรู้
ทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบทบาทของหน่วยงานสาธารณสุขให้เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ของสังคมนอกเหนือจากบทบาทในการให้บริการสาธารณสุขที่มีอยู่แต่เดิม
โดยสรุปแล้ว การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยใช้กลไกภาคประชาชนเป็นหลัก จึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกกำหนดไว้ ดังนั้นหากมีการขยายหรือสนับสนุนให้เกิดการ
ดำเนินงานโดยกลไกภาคประชาชน ร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่ได้ ก็จะเป็นไปตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า“สุขภาพดี อยู่ที่ชุมชน”
ที่มา: วารสารก้าวใหม่ หลักประกันสุขภาพ  ปีที่ 6 ฉ.28(พค ถึง มิย  2556)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น